ใบความรู้

พื้นฐานการออกแบบเว็บไซต์

เนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต์ที่สำคัญๆ ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดทำเว็บไซต์รายละเอียดของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ข่าวประกาศ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถส่งคำถามมาสอบถามได้และที่ขาดไม่ได้คือควรให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถติดต่อได้ด้วย

Dreamweaver เบื้องต้น

การเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ใหม่ในโปรแกรม Macromedia Dreamweaver จะต้องเริ่มต้นจากการตั้งชื่อเว็บไซต์ และกำหนดตำแหน่ง เช่น โฟลเดอร์ และไดร์ฟที่จะเก็บไฟล์ต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่เราจะออกแบบ


การแทรกข้อความ

การแทรกข้อความในหน้าเว็บเพจ ผู้ออกแบบเพียงแต่พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไปตรงตำแหน่งที่ต้องการ หรืออาจจะคัดลอกข้อความที่พิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้วจากไฟล์อื่นมาใช้ก็ได้




การแทรกรูปภาพ

รูปภาพบนหน้าเว็บเพจเป็นสิ่งที่สร้างสีสันและดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ดีผู้ออกแบบเว็บไซต์ควรเลือกรูปภาพที่เข้ากับเนื้อหาของเว็บเพจ และควรเลือกรูปภาพที่มีความคมชัด ขนาดของรูปภาพไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

ตารางกับการออกแบบเว็บเพจ

การออกแบบเว็บเพจด้วยเทคนิคของตาราง มักนิยมใช้เทคนิคของการสร้างตารางซ้อนตาราง เพื่อให้องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกันมากที่สุด โดยเริ่มจากการกำหนดส่วนประกอบหลักของหน้าเว็บเพจ


การจัดเลย์เอาท์ (Layout)

เลย์เอาท์ (Layout) คือโหมดการทำงานที่ช่วยให้ผู้ออกแบบเว็บเพจสามารถวาดตารางและเซลล์ เพื่อกำหนดตำแหน่งและองค์ประกอบของข้อมูลที่จะจัดวางบนหน้าเว็บเพจ คล้ายกับการวางโครงร่างบนกระดาษ



การจัดหน้าเว็บเพจด้วยเลเยอร์

เลเยอร์ (Layer) เปรียบเสมือนแผ่นใสที่สามารถใส่วัตถุหรือออบเจ็กต์ต่าง ๆ เช่น ข้อความหรือรูปภาพลงไปได้ แล้วนำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ได้ โดยออบเจ็กต์ที่อยู่ในเลเยอร์ชั้นบนจะบังออบเจ็กต์ในเลเยอร์ชั้นล่างถัดไป


การเชื่อมโยงเว็บเพจ

การเชื่อมโยงเว็บเพจหรือไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) คือ การเชื่อมโยงกันของหน้าเว็บเพจจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ภายในหน้าเว็บเพจเดียวกันหรือไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ซึ่งอาจมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันหรือไม่ก็ได้


การจัดแบ่งหน้าเว็บเพจด้วยเฟรม

เฟรม(Frame) คือ การแบ่งส่วนของพื้นที่แสดงผลหน้าจอของเว็บเพจออกเป็นส่วน ๆ ทางแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งในแต่ละส่วนสามารถแสดงผลได้อย่างอิสระ และสามารถแสดงผลได้มากกว่า 1 ไฟล์


การสร้างฟอร์มกรอกข้อมูล

การสร้างฟอร์ม เริ่มต้นด้วยการกำหนดขอบเขตของฟอร์มก่อนแล้วจึงนำข้อมูลต่าง ๆ ใส่ไว้ในขอบเขตของฟอร์ม จากนั้นจึงทำการปรับแต่งคุณสมบัติของฟอร์มที่พาเนลกำหนดคุณสมบัติ