e-LearningWeb Technology and Design

เว็บเทคโนโลยีและการออกแบบ

(Web Technology and Design)

ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของเว็บ หลักการทำงานของเว็บเทคโนโลยี การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
กระบวนออกแบบและพัฒนาเว็บ การออกแบบการจัดวาง การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาเว็บ
ที่เหมาะสม การบริหารและจัดการเว็บ การเชื่อมโยงงานกราฟิกและมัลติมีเดีย
เทคนิคและวิธีการออกแบบเว็บ โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

บทที่ 1

พื้นฐานการออกแบบเว็บไซต์

การสร้างเว็บไซต์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ต้องมีการวางแผนที่ดี มีการกำหนดการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการเลือกใช้โปรแกรมช่วยสร้างเว็บไซต์ที่เหมาะสมในการจัดหน้าเว็บเพจ ตลอดจนการเลือกใช้งานโปรแกรมทางด้านกราฟิก เพื่อช่วยในการออกแบบรูปภาพที่จะนำมาวางบนหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า


Learning

บทที่ 2

Macromedia Dreamweaver เบื้องต้น

การออกแบบเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและมีจุดเด่นน่าสนใจนั้น เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากเพราะถ้าเว็บไซต์มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนทันสมัย และมีการออกแบบไว้อย่างสวยงามก็จะทำให้ผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์อยากกลับเข้ามาชมอีก


Learning

บทที่ 3

การแทรกข้อความ

การแทรกข้อความ(Text) ในหน้าเว็บเพจเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการจัดทำเว็บเพจ เพราะเป็นส่วนที่แสดงชื่อเรื่อง(Title) หัวเรื่อง(Heading) รวมทั้งรายละเอียดของข้อมูลภายในเว็บไซต์ การออกแบบเว็บเพจให้ดูดีและสวยงามอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องคำนึงถึงข้อความในเว็บเพจที่ดึงดูดความสนใจ


Learning

บทที่ 4

การแทรกรูปภาพ

รูปภาพ (Image) บนหน้าเว็บเพจ นับเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ เพราะรูปภาพจะเป็นสิ่งที่สร้างสีสันและดึงดูดความสนใจของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี




Learning

บทที่ 5

ตารางกับการออกแบบเว็บเพจ

การออกแบบเว็บเพจให้สวยงามและมีองค์ประกอบที่สอดคล้องกันนั้น ต้องใช้เทคนิคของการสร้างตาราง (Table) ร่วมด้วยเสมอ เพราะการใช้ตารางมาช่วยในการออกแบบเว็บเพจจะช่วยให้การจัดองค์ประกอบบนหน้าเว็บเพจง่ายขึ้น



Learning

บทที่ 6

การจัดเลย์เอาท์ (Layout)

โปรแกรม Macromedia Dreamweaver มีเครื่องมือพิเศษที่ช่วยให้การออกแบบเว็บเพจด้วยตารางที่ซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้นโดยการทำงานในโหมดเลย์เอาท์(Layout Mode) ซึ่งช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถ วาดตาราง (Table) และเซลล์ (Cell)



Learning

บทที่ 7

การจัดหน้าเว็บเพจด้วยเลเยอร์ (Layer)

นอกจากใช้เทคนิคของตารางและเลเยอร์เอาท์ในการออกแบบเว็บเพจแล้ว โปรแกรมMacromedia Dreamweaver ยังมีเครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง คือ เครื่องมือเลเยอร์ (Layer) เพื่อช่วยให้การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้ง่ายและตรงตามที่ผู้ออกแบบต้องการได้


Learning

บทที่ 8

การเชื่อมโยงเว็บเพจ

การเชื่อมโยงเว็บเพจ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่าลิงค์ (Link) คือการเชื่อมโยงกันของหน้าเว็บเพจจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ภายในหน้าเว็บเพจเดียวกันหรือหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ซึ่งอาจมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่ก็ได้


Learning

บทที่ 9

การจัดแบ่งหน้าเว็บเพจด้วยเฟรม(Frame)

เฟรม(Frame) คือ การแบ่งส่วนของพื้นที่แสดงผลหน้าจอของเว็บเพจออกเป็นส่วน ๆ ทางด้านแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งในแต่ละส่วนสามารถแสดงผลได้อย่างอิสระ และแสดงผลได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยใช้แถบเลื่อน (Scroll Bar) นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงไปยังไฟล์และเว็บไซต์อื่นๆได้อีกด้วย


Learning

บทที่ 10

การสร้างฟอร์ม (Form) กรอกข้อมูล

ฟอร์ม (Form) คือ องค์ประกอบบนหน้าเว็บเพจที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังเครื่องบริการเว็บที่เรียกกันว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เพื่อทำการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกแบบเว็บเพจในบางครั้งจำเป็นต้องมีแบบฟอร์มเพื่อขอรับข้อมูลจากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์


Learning